วันเสาร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2559

งดงามเลอค่า!! เผย 10 "เจ้าหญิง" ตัวจริง! สวยสง่า สะกดทุกสายตา!!

งดงามเลอค่า!! เผย 10 "เจ้าหญิง" ตัวจริง! สวยสง่า สะกดทุกสายตา ที่หลายคนไม่เคยเห็นมาก่อน


เมื่อไม่นานมานี้ทางเว็บไซต์ Popsugar ปี 2559 ได้รวบรวมเจ้าหญิงจากหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก

 ที่ทั้งทรงพระสิริโฉมโดดเด่นสง่างาม และทรงมีพระปรีชาสามารถ ควรค่าแก่การรู้จักและน่าจดจำมาให้ได้ชมกันทั้งหมด 10 พระองค์

 ซึ่งหนึ่งในนั้นมีพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ แห่งประเทศไทยด้วย นอกจากนี้จะมีเจ้าหญิงที่ไหนกันบ้าง เราไปดูพร้อมๆ กันเลย


พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ แห่งประเทศไทย


 ภาพจาก เฟซบุ๊ก H.R.H Princess Sirivannavari Nariratana

พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ พระธิดาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ปัจจุบันทรงมีพระชันษา 29 ปี


เจ้าหญิงชาร์ลีน แห่งโมนาโก


ภาพจาก hellomagazine

เจ้าหญิงชาร์ลีน ปัจจุบันทรงมีพระชันษา 38 ปี


เจ้าหญิงมารี-แชนทัล แห่งกรีซ


ภาพจาก unofficialroyalty

 เจ้าหญิงมารี-แชนทัล มกุฎราชกุมารี ปัจจุบันทรงมีพระชันษา 47 ปี ทรงเป็นพระชายาในเจ้าชายเปาโลส มกุฎราชกุมารแห่งกรีซ


เจ้าหญิงแองเจล่า แห่งลิกเตนสไตน์


ภาพจาก dontgetherhairwet

 เจ้าหญิงแองเจล่า ปัจจุบันทรงมีพระชันษา 57 ปี พระชายาของเจ้าชายแม็กมิเลี่ยน โดยก่อนหน้านั้นพระองค์ทรงเป็นดีไซเนอร์อยู่ในกรุงนิวยอร์ก


เจ้าหญิงชาร์ล็อตต์ คาซิรากี แห่งโมนาโก


ภาพจาก zimbio

 เจ้าหญิงชาร์ล็อตต์ คาซิรากี้ พระราชนัดดาของสมเด็จยาย เจ้าหญิงเกรซ เคลลี่ ปัจจุบันทรงมีพระชันษา 29 ปี


เจ้าหญิงลัลลา ซัลมา แห่งโมร็อกโก


ภาพจาก alyaoum24

 เจ้าหญิงลัลลา ซัลมา พระชายาพระองค์แรกในสมเด็จพระราชาธิบดีมุฮัมมัดที่ 6 พระมหากษัตริย์แห่งโมร็อกโก ปัจจุบันทรงมีพระชันษา 37 ปี


เจ้าหญิงอามีราห์ อัล-ทาวีล แห่งซาอุดิอาระเบีย


ภาพจาก maldivesfinest

เจ้าหญิงอามีราห์ อัล-ทาวีล ปัจจุบันทรงมีพระชันษา 32 ปี ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าชายอัลวาลีด บิน ตาลาล ก่อนจะทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์ในปี 2556


เจ้าหญิงเมตเต-มาริต มกุฎราชกุมารี แห่งนอร์เวย์


ภาพจาก gala.de

 เจ้าหญิงเมตเต-มาริต มกุฎราชกุมารี ปัจจุบันทรงมีพระชันษา 42 ปี


เจ้าหญิงเบียทริซ แห่งยอร์ก


ภาพจาก zimbio

เจ้าหญิงเบียทริซ สมาชิกพระองค์หนึ่งของพระราชวงศ์อังกฤษ ปัจจุบันทรงมีพระชันษา 27 ปี  เป็นพระราชนัดดาในสมเด็จพระบรมราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 และ เจ้าชายฟิลิป


เจ้าหญิงสเตฟานี แกรนด์ดัชเชสรัชทายาท แห่งลักเซมเบิร์ก


ภาพจาก royalisticism.blogspot.com

 เจ้าหญิงสเตฟานี แกรนด์ดัชเชสรัชทายาท พระชายาในแกรนด์ดยุกกีโยม รัชทายาทแห่งลักเซมเบิร์ก ทรงเป็นสมาชิกของราชวงศ์ขุนนางของเบลเยียมปัจจุบันทรงมีพระชันษา 31 ปี


เครดิต ขอบคุณข้อมูลจาก women.kapook, farm9.staticflickr, topicstock.pantip., oknation.nationtv

ต้องทำอย่างไร ? เมื่อ >> “เด็กไทยคิดไม่เป็น” ???

มุมลึกของการศึกษาญี่ปุ่น (3) : สอนให้รู้สึกและสอนให้รู้ลึก..

 ผู้ใหญ่มักบ่นว่า “เด็กไทยคิดไม่เป็น” คำว่า “คิด” ในเชิงสังคม คงหมายถึงการใช้ปัญญาพิจารณาวิเคราะห์และตัดสินด้วยเหตุผลทั้งในด้านวิชาการและคุณธรรม



 เมื่อเด็กคิดไม่เป็น ต่อไปก็กลายเป็นผู้ใหญ่ที่คิดไม่เป็นอีก เกิดวงจรไร้จุดจบวนอยู่อย่างนั้น

 คำบ่นแบบนี้ผมได้ยินมาตั้งแต่เล็กๆ และตัวเองก็คงเคยเป็นเด็กที่คิดอะไรไม่เป็นมาก่อนเช่นกัน

 หรือแม้แต่ในปัจจุบันก็ยังไม่กล้ายืนยันกับใครว่าเราใช่ผู้ใหญ่ที่คิดเป็นหรือไม่ เพราะเติบโตในระบบการศึกษาของไทยมาเหมือนกัน
       
   ผ่านมานานแล้วตั้งแต่ผมเริ่มอ่านออกเขียนได้ แต่ไม่ว่ายุคไหนๆ เสียงบ่นทำนองนี้ก็ยังมีให้ได้ยิน เอ...สรุปว่าเด็กผิด หรือผู้ใหญ่ผิดที่สอนเด็กให้คิดเป็นไม่ได้?

 การปรับการศึกษาให้สามารถสร้างคนที่มีคุณภาพออกมาได้เป็นเรื่องใหญ่และควรทำทั้งระบบ

 ผมไม่ใช่นักการศึกษาในระดับนโยบาย จึงไม่อาจเสนอแนะสิ่งใดในแบบผู้เชี่ยวชาญได้โดยตรง คงทำได้แค่แบ่งปันข้อสังเกตจากวงการศึกษาของญี่ปุ่นที่อาจจุดประกายความเคลื่อนไหวให้แก่การศึกษาของไทยบ้าง

 สิ่งที่ผมคิดว่าการศึกษาญี่ปุ่นสอนให้เด็กมีติดตัวเป็นพื้นฐาน อาจจะโดยตั้งใจหรือโดยลักษณะประจำชาติของคนญี่ปุ่นก็แล้วแต่ คือ การสอนให้รู้สึกและการสอนให้รู้ลึก

       
  เมื่อมองประเด็น “เด็กไทยคิดไม่เป็น” คำถามคือ “เด็กจำเป็นต้องคิดไหม” ??

 ตามธรรมชาติของเด็ก เด็กต้องคิดอะไรมากมายหรือไม่? ถ้าผู้ใหญ่หวังผลเลิศ ก็คงจะตอบว่า “เด็กควรคิด” 

 และผู้ใหญ่ก็จะ ‘พยายาม’ สอนให้คิด เมื่อเกิดการสอน เราวัดได้แน่ชัดแค่ไหนว่าสอนให้คิดมากน้อยขนาดไหนถึงจะไม่กลายเป็นภาระทางสมองและอารมณ์สำหรับเด็ก?


 หากการวัดเป็นเรื่องยาก ก็ไม่ควรยัดเยียดเป้าหมายของผู้ใหญ่ให้เด็กจำใจรับโดยไม่รู้ตัว เมื่อมองทางญี่ปุ่น ผมรู้สึกว่าเด็กญี่ปุ่นไม่ค่อยถูกบังคับให้คิด

 แต่มีทักษะการคิดติดตัวมาตั้งแต่เด็ก และจะแสดงความสามารถในการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลออกมาเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ 



  ลักษณะเด่นอย่างหนึ่งของคนญี่ปุ่นคือ ให้ความสำคัญต่อกระบวนการ ส่วนผลจะเป็นอย่างไรเดี๋ยวค่อยว่ากัน

 เป้าหมายก็ตั้งไว้ แต่จะบรรลุหรือไม่ นั่นคือเรื่องทีหลัง เรื่องนี้สะท้อนออกมาในการศึกษาสำหรับเด็กด้วย คือ ส่งเสริมให้รู้สึกเสียก่อน เดี๋ยวต่อไปกระบวนการนั้นจะกลายเป็นความคิด

 การคิดเป็นเรื่องที่ต้องสอน แต่ความรู้สึกเป็นสิ่งที่มีติดตัวมาแต่เกิดและนำมาใช้ได้ง่ายมาก 

 การให้เด็กแสดงความรู้สึกแบบไม่ปรุงแต่งด้วยคำถามพื้นๆ ของครู รู้สึกอย่างไรก็ให้พูดแบบนั้น

 ฝึกให้เด็กตรวจสอบความรู้สึกของตัวเอง โดยมีครูตะล่อมไปในแนวทางที่เหมาะสมจะเป็นการสอนให้เด็กรู้จักมองตัวเองกับสิ่งแวดล้อม และนำไปสู่การคิดเป็นในที่สุด
       
  โรงเรียนญี่ปุ่นทำอย่างไร? นี่ไม่ใช่เรื่องซับซ้อนอะไรเลย ภาษาญี่ปุ่นมีคำว่า “คันโซ” (感想;kansō) แปลว่า ความรู้สึกต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

 ครูมักให้เด็กแสดงความรู้สึกต่อเรื่องที่ฟัง หรือได้อ่าน หรือได้ทำ ทั้งแบบปากเปล่าและด้วยการเขียน ตัวอย่างที่ง่ายที่สุดคือ เด็กเล็กๆ ชอบฟังนิทาน เรื่องเล่า ละครกระดาษประกอบคำบรรยาย เป็นต้น

 สิ่งเหล่านี้ตรึงความสนใจของเด็กได้เสมอ ครูอนุบาลหรือครูประถมของญี่ปุ่นจะเล่าหรืออ่านเรื่องพวกนี้ให้เด็กฟังเป็นระยะ หรือไม่ก็ให้เด็กอ่านเอง พอจบเรื่องก็จะถาม “คันโซ” คือถามความรู้สึก

 ซึ่งก็ง่ายมาก ขั้นแรกคือถามความรู้สึกที่สัมผัสได้ทันที เช่น ชอบไหม? ชอบตัวละครไหน? ชอบฉากไหน? เอาใจช่วยตัวละครตัวไหน? 

 ขั้นต่อไปคือความรู้สึกที่ประกอบด้วยเหตุผล ทำไมถึงชอบ? ทำไมถึงไม่ชอบ? ถ้าหนูเลือกได้ อยากเป็นตัวละครตัวไหน? เพราะอะไร?

 และจะได้คำตอบสั้นๆ จากเด็ก ไม่มีคำตอบไหนที่ผิด ทำให้เด็กๆ สนุกและมีส่วนร่วมไปกับเรื่องที่ตัวเองได้ฟัง นำไปสู่ทัศนคติที่ดีต่อการเรียนตลอดจนการฟังและการพูด

 และการให้เด็กแสดงความรู้สึกยังเป็นช่องทางที่จะใช้ประยุกต์เพื่อสอนคุณธรรมให้เด็กด้วย เช่น เมื่อรู้สึกสงสารก็อยากช่วย

 เมื่อรู้สึกถูกเอาเปรียบ ครูก็สามารถสอนให้รักความยุติธรรม เมื่อเด็กรู้สึกโกรธ ครูก็จะสบช่องสอนให้รู้จักอภัย
       
  จะเห็นได้ว่า จากความรู้สึก ก็เริ่มคาบเกี่ยวกลายเป็นจินตนาการกับความคิดและการหาเหตุผลในใจตัวเอง นั่นจะพัฒนาไปสู่การเรียบเรียงความคิดและการเขียนได้

 จากประสบการณ์ส่วนตัวของผมเองที่ผ่านการศึกษาของไทย จำได้แม่นยำจนถึงทุกวันนี้ว่าเกลียดวิชาเรียงความมาก เพราะเขียนไม่ได้ เขียนไม่เป็น โดยที่ไม่รู้สาเหตุว่าเพราะอะไร

 ตอนนั้นอยู่ ป.6 เริ่มเรียนวิชาเรียงความ ครูบอกแค่ว่าไปเขียนเรียงความมาโดยจะต้องมีคำนำ เนื้อเรื่อง และบทสรุป หัวข้อคือ “ทุเรียน”

 ว่าแต่คำนำคืออะไร? เนื้อเรื่องคืออะไร? บทสรุปคืออะไร? เด็ก ป.6 คิดไม่ออก ทำได้ไม่ดี ก็เขียนแค่พอส่งๆ ไป ไม่ชอบการเขียนจนโตและไม่ได้คิดว่าจะมาเป็นนักเขียนอย่างทุกวันนี้

 จนไปเรียนที่ญี่ปุ่นแล้วจึงรู้สาเหตุว่าตอนเด็กๆ เราเขียนไม่ได้เพราะเราไม่เคยสำรวจความรู้สึกของตัวเองต่อหัวข้อ

 ถ้าครูชี้นำด้วยคำถามง่ายๆ ว่าเธอชอบทุเรียนไหม? มันอร่อยไหม? กลิ่นหอมไหม? ถ้ามีคนบอกว่ามันเหม็น เธอรู้สึกยังไง?

 ถามความรู้สึกแค่นี้เอง ก็จะเริ่มได้เนื้อหา นำมาเรียบเรียงแล้วใส่โครงสร้าง ก็จะกลายเป็นงานเขียนชิ้นเล็กๆ ของเด็กคนหนึ่งขึ้นมา

 แต่การณ์หาได้เป็นเช่นนั้นไม่ ผมถึงไม่รู้สึกรักการเขียนกระทั่งไปเรียนที่ญี่ปุ่น 



    ในญี่ปุ่น การถาม “คันโซ”—ความรู้สึก และให้เขียน “คันโซบุง”—เรียงความ (แสดงความรู้สึก) (感想文;kansōbun) มีตั้งแต่ระดับประถม สั้นยาวตามระดับของเด็ก

 และเริ่มจากหัวข้อใกล้ตัว ต่อมา จากเรียงความประเภท “คันโซบุง” เมื่อผู้เรียนชำนาญขึ้นก็จะพัฒนาเป็น “ซะกุบุง”—เรียงความทั่วไป (作文;sakubun) ที่ต้องใช้ความคิดกลั่นกรอง ความคิดสร้างสรรค์ หรือการวิเคราะห์มากขึ้น

 ซึ่งพื้นฐานที่สำคัญได้มาจากเรียงความ สื่อความรู้สึกนั่นเอง!!

 ในอีกมุมหนึ่ง ถ้าให้ “แสดงความคิดเห็น” อย่าว่าแต่เด็ก แม้แต่ผู้ใหญ่ก็รู้สึกเกร็งขึ้นมา เพราะคำว่า “ความคิดเห็น” มีนัยว่าเนื้อหาที่ออกมานั้นจะต้องผ่านขั้นตอนการคิดและจะต้องยากแน่ๆ

 หากพูดอะไรไม่เข้าท่าออกไป ใครๆ จะหาว่าเราโง่ จึงเงียบเสีย ไม่พูดอะไรทั้งสิ้น กลายเป็นที่มาของเด็กไทยคิดไม่เป็น แสดงความคิดเห็นไม่ออก

 และเมื่อถึงเวลาที่จำต้องแสดงความคิดเห็นจริงๆ จึงขาดโครงสร้างและเหตุผลที่จะโน้มน้าวผู้รับสาร ของไทย

 ถ้าเราเปลี่ยนเสียใหม่ ครูไทยบอกเด็กให้ “แสดงความรู้สึก” แทนที่จะเป็น “แสดงความคิดเห็น” ความกดดันอาจจะลดลง และเด็กก็อาจจะฝึกพูดเพื่อสื่ออะไรๆ ได้ดีตั้งแต่ยังเล็ก
       
  ลักษณะเด่นอีกประการหนึ่งของคนญี่ปุ่นคือ ชอบค้นคว้า..

 ถ้าผมบอกคนไทยว่าเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยของญี่ปุ่น แต่ไม่มีห้องพักอาจารย์ ใครๆ ก็คงไม่เชื่อ

 ทว่านั่นเป็นความจริง!! ตามแง่มุมของถ้อยคำที่ใช้ กล่าวคือ คำว่า “ห้องพักอาจารย์” ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า “เค็งกีวชิสึ” (研究室;kenkyū-shitsu) แปลตรงๆ ว่า ห้องวิจัย

 นั่นหมายความว่าเมื่อว่างเว้นจากการสอนและกลับมาที่ห้อง อาจารย์จะต้องวิจัย ไม่ใช่พัก ห้องที่ได้รับจึงไม่ใช่ห้องพัก แต่เป็นห้องทำงาน 

 สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นมุมมองของความคาดหวังจากสังคมที่มีต่ออาจารย์ว่าจะต้องค้นคว้าหาความรู้ อู้ไม่ได้ มีหน้าที่สอนก็สอนไป ว่างเมื่อไรต้องวิจัย

 และยังเป็นการสะท้อนลักษณะนิสัยของคนญี่ปุ่นที่ให้ความสำคัญต่อการรู้ลึกและรู้จริงด้วย!!
       
  สำหรับคำว่า “เค็งกีว” (研究;kenkyū) ซึ่งแปลโดยทั่วไปว่าการวิจัยนั้น อาจดูเหมือนเป็นคำที่ใช้ในการศึกษาระดับสูง

 แต่เปล่าเลย คำนี้เป็นคำที่ธรรมดามากในสังคมญี่ปุ่น คนญี่ปุ่นรู้จักคำนี้ตั้งแต่เรียนชั้นประถมกันแล้วเพราะโรงเรียนส่งเสริมให้ “เค็งกีว” ตั้งแต่เด็ก

 โดยเฉพาะในวิชาวิทยาศาสตร์ และในความหมายที่กว้างขึ้น คำนี้แปลว่าศึกษาค้นคว้า

 แน่นอนว่าผลของการค้นคว้าก็ไม่ใช่การค้นพบสิ่งใดที่ยิ่งใหญ่ แต่เป้าหมายหลักคือต้องการให้เด็กรู้จักค้นคว้าเพื่อหาคำตอบสำหรับสิ่งที่ตัวเองสนใจ ซึ่งกลายเป็นนิสัยติดตัวคนญี่ปุ่นจนโต

 และสิ่งที่คนญี่ปุ่นในสังคมจะพูดติดปากเมื่อมีเรื่องที่ตัวเองไม่รู้ คือ “จะค้นดู” หรือ “จะศึกษาดู” ก่อนจะตอบอะไรส่งเดชโดยไม่ได้อิงแหล่งข้อมูล !



  ในช่วงปิดภาคเรียนฤดูร้อนหรือฤดูหนาวของโรงเรียนประถม โรงเรียนจะมอบหมายให้นักเรียนทำ “จิยู-เค็งกีว” (自由研究;jiyū-kenkyū) แปลว่า การค้นคว้าอิสระ

 หรือพูดง่ายๆ นี่คือการบ้านปิดเทอม หัวข้อที่จะค้นคว้านำมาส่งครูจะเป็นเรื่องอะไรก็ได้ที่ตัวเองสนใจ

 พอบอกอย่างนี้แล้ว คนไทยอาจมองว่าคงจะต้องลำบาก ต้องทำการทดลอง ต้องเตรียมตัวมากมายแน่เลย

 แต่ไม่ใช่ การส่งเสริมให้เด็ก มีนิสัยรักการค้นคว้านี้ ทำโดยให้เริ่มจากสิ่งที่ชอบ อยู่ในชีวิตประจำวัน อยู่ในชุมชน และไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องทางวิทยาศาสตร์

 ตัวอย่างหัวข้อที่เด็กๆ พยายามค้นคว้าให้รู้ลึกยิ่งขึ้น เช่น สำรวจประวัติของเขตที่ตัวเองอาศัยอยู่ สำรวจชีวิตประจำวันของคนในชุมชน ลองทำเต้าหู้เองที่บ้าน

 ศึกษาประวัติบุคคลสำคัญ ลองทำสบู่เอง ปลูกพืชเอง สิ่งเหล่านี้โรงเรียนแนะแนวไว้แล้ว และให้เด็กไปต่อยอดศึกษาเอง

 บางครั้งก็เป็นสิ่งที่ผู้ปกครองกับเด็กต้องร่วมมือกัน แต่พ่อแม่ญี่ปุ่นก็ชินกับการค้นคว้าอยู่แล้ว และให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
       
  ทักษะเหล่านี้นักเรียนญี่ปุ่นรู้จักมาตั้งแต่ชั้นประถม พอเรียนมัธยมต้น จะเกิดการแข่งขันทางการศึกษามากขึ้น

 เพราะเด็กจำนวนมากมุ่งจะสอบเข้าโรงเรียนมัธยมปลายดีๆ และต่อไปคือมหาวิทยาลัยชั้นนำ

 จุดนี้เป็นปัญหาของระบบการศึกษาของญี่ปุ่นอยู่เหมือนกัน เด็กต้องเรียนคร่ำเคร่งเพื่อจะเข้ามหาวิทยาลัยที่ดีให้ได้เพราะนั่นหมายถึงอนาคตในการทำงาน

 อีกทั้งพ่อแม่ต้องเสียเงินให้ลูกไปโรงเรียนกวดวิชาอีกมากมาย ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นจุดบกพร่องของการศึกษาญี่ปุ่น
       
  ทว่า ผมในฐานะอาจารย์ที่สอนระดับมหาวิทยาลัย สังเกตได้ว่าคุณสมบัติด้านการเรียบเรียงถ่ายทอดความคิดและทักษะการค้นคว้าของนักศึกษามหาวิทยาลัยญี่ปุ่นเป็นที่น่าชื่นชม

 อาจารย์พูดชี้แนะเพียงนิดเดียว นักศึกษาสามารถทำความเข้าใจได้ถูกต้อง และค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมกลับมานำเสนอได้อย่างดี

 ผมจึงมองว่า แม้ว่าการศึกษาในช่วงมัธยมของญี่ปุนมุ่งเน้นการสอนหนังสือเพื่อสอบเข้า แต่พื้นฐานที่คนญี่ปุ่นได้รับการปลูกฝังจนติดตัวมาตั้งแต่เด็ก อาทิ เรื่องการอยู่ร่วมกัน ระเบียบวินัย ทักษะการเรียนผ่านการสำรวจความรู้สึก

 และการค้นคว้าให้รู้ลึกนั้น ได้รับการถ่ายทอดมาในระดับประถมอย่างเข้มข้น พอฐานดี ครั้นจะต่อยอดสิ่งใดก็ทำได้ง่ายทั้งในระดับมหาวิทยาลัยและระดับสังคม

 ญี่ปุ่นจึงก้าวหน้าทางวิชาการและมีคนต่างชาติไปเรียนมากมาย และมีคนที่ถึงพร้อมด้วยคุณภาพอย่างที่คนไทยชื่นชม
       
 ********************

  คอลัมน์ญี่ปุ่นมุมลึก โดย ดร.โฆษิต ทิพย์เทียมพงษ์ แห่ง Tokyo University of Foreign Studies จะมาพบกับท่านผู้อ่านโต๊ะญี่ปุ่น ทุกๆ วันจันทร์ ทาง www.manager.co.th 

Cr. manager online

วันอังคารที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2559

กฎแห่งกรรม “น้ำตาแม่ตก” ลองเสียเวลาอ่านสักนิด แล้วคุณจะเข้าใจ !!!!

กรรมติดจรวด”!!! หนุ่มไล่แม่ออกจากบ้าน ไม่เชื่อกฎแห่งกรรม ทำ “น้ำตาแม่ตก”สุดท้ายชีวิตพลิกผัน สำนึกได้เมื่อสายไปเสียแล้ว!!!???


 เมื่อสมัยข้าพเจ้ายังเป็นเด็ก ผู้ใหญ่เคยพูดว่าใครไม่มีความกตัญญูรู้คุณพ่อแม่ผู้มีพระคุณ คนผู้นั้นคบไม่ได้ ท่านห้ามไม่ให้คบ เพียงพ่อแม่เลี้ยงดูมาเป็นพระคุณสูงสุดของเรา ให้ความรัก ให้ความเป็นห่วง ให้ความเมตตาปรานี ไม่มีใครจะรักเราหวังดีต่อเรามากเท่าพ่อแม่บังเกิดเกล้า มีอยู่ในโลกเพียงสองคนเท่านั้น

 เมื่อท่านล้มหายตายจากไปแล้ว หาไม่ได้อีก ลูกชั่วมันไม่รู้พระคุณพ่อแม่แล้ว มันยังเนรคุณอีก แล้วใครจะคบมันได้ คนพวกนี้ไม่ซื่อกับใคร


ข้าพเจ้าก็เพียงจำเอาไว้ว่า คนที่ไม่เคารพพ่อแม่ของตัวนั้นเป็นคนคบไม่ได้ มันก็คบเพื่อนที่ดีไม่ได้เพราะคนดีเขาก็ไม่คบ คงจะคบได้แต่พวกอกตัญญูพวกนิสัยชั่วเหมือนกัน ผู้ใหญ่สมัยก่อนสอนเด็กพวกลูกหลานว่า ใครหรือลูกคนใดทำให้พ่อแม่ช้ำอกช้ำใจจนถึงน้ำตาตก คนผู้นั้นก็บาปหนัก จะต้องได้รับกรรมตามสนองในวันหนึ่งข้างหน้า หนีกรรมที่ตนทำไว้ไม่พ้น

ข้าพเจ้าได้ฟังคำของผู้ใหญ่ก็จดจำไว้ รู้ว่าเพื่อนคนไหนมีประวัติไม่เคารพพ่อแม่ผู้มีพระคุณ ก็ไม่ยอมคบให้ความสนิทสนม และต่อมาได้ติดตามดูการครองชีวิตของคนผู้นั้น ไม่มีความเจริญมีแต่ความเสื่อม สุดท้ายกรรมตามสนอง มีลูกก็ไม่มีความกตัญญูแก่ตัว เช่นเดียวกับตัวได้ทำกับพ่อแม่ในอดีต นี่เป็นผลกรรม


ข้าพเจ้าได้รับบันทึกจากพระภิกษุรูปหนึ่ง เขียนมาจากวัดโขดทิมราชธาราม ตำบลท่าประดู่ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ลงวันที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ ท่านได้บันทึกเรื่องที่ท่านได้ประสบการณ์เกิดขึ้นก่อนอุปสมบท ครั้งท่านยังเป็นฆราวาสในบันทึกของท่านได้เขียนว่า

อาตมาได้ประสบการณ์พบเห็นเรื่องจริงได้เกิดขึ้นแล้วด้วยตัวของอาตมาเอง เห็นว่าเข้ากับในชุด “กฎแห่งกรรม” ที่คุณโยมเขียน เพราะอาตมาได้อ่านชุด “กฎแห่งกรรม” รู้สึกมีประโยชน์มาก เพราะทำให้ผู้อ่านจิตใจสบายขึ้น อาตมาจึงได้บันทึกความจริงส่งมาให้ อยากให้คุณโยมพิจารณาดู เรื่องบุคคลที่ได้สร้างกรรมทำชั่วไว้กับผู้เป็นแม่ผู้มีพระคุณสูงยิ่ง ขาดความกตัญญูแล้วหนีไม่พ้นกรรมตามสนอง ตามสนองในชาตินี้ พอรู้ตัวว่าผิดก็หมดลมหายใจ



เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๙ เป็นเวลาที่อาตมารับราชการเป็นพนักงานแผนกที่ดิน อยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดระยอง มีเพื่อนร่วมโรงเรียนจบพร้อมกันและมีอายุเท่ากัน ปีเดียวกัน แต่ทำงานคนละแผนกในอำเภอเดียวกัน วันหนึ่งในเวลาราชการ อาตมาเดินออกจากแผนกที่ดินเพื่อนำหนังสือมาเสนอให้นายอำเภอลงนาม ก่อนที่จะเข้าห้องนายอำเภอ ต้องผ่านหน้าห้องมีโต๊ะปลัดอำเภอตั้งอยู่

 เห็นโยมแม่ของเพื่อนยืนร้องไห้อยู่ที่ข้างโต๊ะปลัด เห็นเพื่อนผู้เป็นลูกยืนแสดงสีหน้าเครียดกำลังอารมณ์เสีย ขึ้นเสียงดังด้วยความโกรธ อาตมายืนนิ่งฟังอยู่ห่างๆ เพราะยังไม่รู้เรื่องต้นสายปลายเหตุ ที่สุดก็จับใจความได้ว่า เพื่อนผู้นี้กำลังจะไล่แม่ให้ออกจากบ้าน ไม่สนใจว่าแม่จะไปอาศัยอยู่ที่ไหน

อาตมาฟังแล้วต้องชะงักยืนงง ไม่นึกไม่ฝันเลยว่าเพื่อนจะใจเหี้ยมโหดรุนแรงถึงเพียงนี้ อาตมาคิดแล้วก็เศร้าใจ เพราะเพื่อนผู้นี้เคยจบหกพร้อมกันที่โรงเรียนระยองมิตรอุปถัมภ์ และเวลานั้นเพื่อนก็มีภรรยาแล้ว แต่ยังไม่มีบุตรด้วยกัน เมื่อมาพิจารณาดูตั้งแต่เพื่อนได้ภรรยาแล้วก็เปลี่ยนนิสัยไป ก่อนอยู่สองคนกับแม่ก็เป็นคนดี

อาตมาได้ยินปลัดอำเภอได้พยายามไกล่เกลี่ย เปรียบเทียบชี้ให้เห็นบุญบาป ที่ทำให้แม่เสียอกเสียใจถึงกับน้ำตาตก ร้องไห้สะอึกสะอื้นแล้วพูดด้วยเสียงสั่นๆ อย่างน้อยอกน้อยใจ แต่ไม่ได้พูดรุนแรงกับลูก พูดจาเรียบๆ ไม่หยาบคาย เหมือนไม่โกรธตอบลูก แต่พูดให้ลูกเห็นใจ มิได้ใช้วาจาหยาบคายตามอารมณ์ ฟังแล้วก็คิดสงสาร เสียงผู้เป็นแม่พูดว่า

“แม่ได้ยกบ้านให้ลูกแล้ว เพียงแต่แม่อาศัยไปวันหนึ่งๆ เท่านั้น แม่ไม่ต้องการอะไรทั้งหมด และแม่ก็ไม่โกรธลูกที่ว่าแม่ ไล่แม่ แม่รู้ตัวว่าแม่แก่แล้ว อยู่ได้ไม่นานแม่ก็จะตาย ลูกไม่ควรจะไล่แม่ไปอยู่ที่อื่น แล้วแม่จะไปอยู่ที่ไหนล่ะ ไปอาศัยใครเขาก็คงรังเกียจคนแก่ ช่วยทำงานอะไรให้เขาก็ไม่ไหว เห็นแก่แม่ที่เลี้ยงลูกมาจนโตเถิด แม่แก่แล้วจะอยู่กับลูกไม่นานก็ตาย”

อาตมายืนฟังด้วยความสลดใจ น้ำตามันจะไหลออกมา ข้าราชการบนอำเภอต่างก็หน้าเศร้าเหมือนจะร้องไห้ เพราะความสงสารผู้เป็นแม่ คำพูดของแม่แต่ละคำมิได้พูดให้กระเทือนใจลูกเลย มีแต่คำอ้อนวอนให้ลูกมีความสงสารแม่เท่านั้น แต่ลูกกลับมีกิริยาทั้งขู่ทั้งตวาด ใช้วาจาหยาบคายต่อแม่บังเกิดเกล้า เสียงตวาดว่า

“ต้องออกจากบ้านเพราะบ้านเป็นของฉัน แม่ยกให้ฉัน ไม่ใช่ของแม่แล้ว แม่ไม่มีสิทธิ์จะอยู่ต่อไป แม่ไม่มีที่อยู่ ไปอยู่วัดก็ได้ ขอให้ไปพ้นบ้านฉัน”

อาตมาฟังแล้วมีความแค้นและเจ็บใจแทนผู้เป็นโยมแม่ของเพื่อน ไม่นึกว่าเพื่อนจะมีจิตใจร้ายกาจเยี่ยงสัตว์เช่นนี้ พวกข้าราชการบนอำเภอต่างก็มีความรู้สึกเช่นเดียวกับอาตมา มีแต่คนแช่งด่าชังน้ำหน้า ไม่มีใครยกย่องว่าเป็นคนดี

อาตมารู้สึกหูหน้าร้อนชา เลือดฉีดแรงขึ้นหน้าเพราะโกรธแทนโยมแม่ของเพื่อน สงสารและเห็นใจ นึกในใจเพื่อนอย่างนี้เลิกคบค้าสมาคมนับแต่บัดนี้เป็นต้นไป อาตมารู้ตัวดีจึงรีบเดินออกจากที่นั่น ก่อนที่จะระงับอารมณ์ไม่อยู่ ทนดูเพื่อนเป็นไอ้ลูกอกตัญญูไม่ไหว

ต่อจากนั้นอาตมาก็ไม่อยากทราบเรื่องให้เกิดความขุ่นใจเปล่าๆ เพราะอาตมาตัดการเป็นเพื่อนฝูงสิ้นสุดกันแล้ว อาตมาคิดว่าเพื่อนคนนี้ต่อไปจะไม่มีความเจริญ มีแต่จะเสื่อมลง กรรมจะต้องตามสนองในวันหนึ่งข้างหน้า

หลังจากนั้นต่อมาประมาณเดือนเศษ หรือสองเดือนอาตมาก็จำไม่ได้ ในปีเดียวกัน เพื่อนผู้นี้ได้ขี่รถจักรยานยนต์ ซูซูกิ ๕๐ ซีซี มาทำงานที่อำเภอเป็นประจำ เช้าวันนั้นประมาณ ๘.๐๐ น. เพื่อนได้ขี่รถออกจากบ้าน ซึ่งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอประมาณ ๖ กม. ตำบลบ้านแลง อำเภอเมือง เมื่อขี่จักรยานยนต์ผ่านมาถึงหน้าศาลากลางจังหวัด

เหตุการณ์ที่ไม่เคยนึกเคยฝันก็เกิดขึ้น รถที่เพื่อนขี่มานั้นวิ่งตรงเข้าชนท้ายรถเมล์ที่จอดเฉยอยู่ข้างถนน เหมือนมีอาถรรพณ์เป็นเหตุให้รถแหลก ตัวเองก็บาดเจ็บสาหัสมีผู้เห็นเหตุการณ์ในครั้งนั้นเล่าว่า เมื่อเข้าช่วยพยุงร่างที่ไม่ได้สติออกมา เพื่อจะรีบนำตัวคนเจ็บไปส่งโรงพยาบาล แต่พอรู้สึกตัวฟื้นขึ้นมาก็ร้องครวญครางด้วยความเจ็บปวด สุดท้ายก่อนที่เพื่อนของอาตมาจะสิ้นลมหายใจ ก็ร้องไห้ออกมาเหมือนทารกแล้วรำพันเป็นครั้งสุดท้ายว่า

“แม่จ๋า ลูกรู้ตัวว่าลูกผิดไปแล้ว แม่จ๋า อภัยให้ลูกด้วยแม่อยู่ไหน” พอสิ้นเสียงก็สิ้นใจ

เมื่อรู้ถึงผู้เป็นแม่ว่า ลูกชายเกิดอุบัติเหตุ ก็ตกใจลืมเรื่องที่ลูกเคยไล่ให้แม่ออกจากบ้าน เหลือแต่ความรักความอาลัยที่มีต่อลูก เมื่อรู้ข่าวว่าลูกตาย ก็เหมือนใครมาควักเอาดวงใจออกจากร่าง ร้องออกมาว่า “โธ่ ลูกรัก เจ้าหนีแม่ไปแล้ว” ก็ร่ำไห้รำพันถึงความรักที่มีต่อลูกชายคนเดียวจนสิ้นสติสมประดี หมดอาลัยในชีวิตที่จะอยู่ในโลกมนุษย์ต่อไป

นี่ก็ชี้ให้เห็นว่า ความรักในโลกนี้ไม่มีใครรักลูกเกินกว่าแม่บังเกิดเกล้า แม้ลูกจะชั่วร้ายอกตัญญู ไม่รู้คุณทั้งยังทำให้แม่น้ำตาตกแม่ก็ยังรัก และยังให้อภัยลูกเสมอ แม่ฆ่าลูกไม่ได้ ขายลูกไม่ขาด

อาตมาอยากจะพูดว่า ลูกคนใดมีความเคารพกตัญญูต่อพ่อแม่บังเกิดเกล้า กรรมดีจะเป็นสิริมงคลมีความเจริญรุ่งเรืองในชีวิตของผู้นั้น ตรงข้ามผู้ใดอกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ กรรมชั่วนั้นจะตามสนอง เพราะไม่มีใครหนี “กฎแห่งกรรม” ไปได้ อยู่ที่เวลาจะช้าหรือเร็วเท่านั้น

งานฌาปนกิจศพเพื่อนอาตมาคนนี้ได้จัดขึ้น ณ เมรุวัดบ้างแลง ตำบลบ้านแลง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง อาตมาก็ไปในงานเพราะรู้สึกเศร้าใจในชะตากรรมของเพื่อนอาตมา ที่เคยเกลียดเคยชังในการที่เพื่อนได้เคยปฏิบัติต่อแม่บังเกิดเกล้ามาแล้ว อาตมาก็ได้อโหสิกรรมให้หมดสิ้นไปแล้ว เพราะเพื่อนก็ได้รับเคราะห์กรรมตามสนองแล้ว งานประชุมเพลิงวันนั้น ผู้ไปในงานรู้ชีวิตเบื้องหลังของเพื่อน ต่างก็วิพากษ์วิจารณ์ที่เพื่อนหนีกฎแห่งกรรมไม่พ้น บัดนี้ได้ตามสนองเพื่อนแล้ว คงจะเป็นตัวอย่างแก่คนรุ่นหลังต่อไป

โดย ท.เลียงพิบูลย์

จากหนังสือกฎแห่งกรรม
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เล่ม ๑

cr. http://www.siamvariety.com/view-12420.html

วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ตื่นเถิดชาวพุทธ ! อย่าปล่อยให้เป็นนาลันทา 2 !!!

..พุทธสถานของเรา ควรห้ามโดยเด็ดขาดที่ไม่ใช่ชาวพุทธ เอาบ้างปล่อยไว้มานาน...


 หรือจะนอนหลับปล่อยให้เป็นนาลันทา..สอง..มันกำลังเกิดขึ้นแล้ว..ตื่นเถิดชาวพุทธ..ตื่นเถิด?เพื่อพระพุทธศาสนา..


อนุโมทนาสาธุ..
ในเมื่อประจำชาติไม่ได้ เอาประจำหมู่บ้านแบบนี้สุดยอดครับ
ผู้นำสร้างพลังชุมชนไว้แบบนี้ดีมาก และดีกว่า....ที่ไม่คิดทำอะไรเลยไม่คิดทำอะไรสักอย่าง สงสารลูกหลานครับมองให้ไกลๆ


วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2559

'ทักษิณ'ลั่นหากกลับไทย จะปวารณาตัวจรรโลงศาสนา!!

ไม่ใช่ปราชญ์ เพียงไม่อาจทนเห็นหลวงปู่หลวงตาทั้งหลาย โดนใส่ร้ายป้ายสี...เกลียดแบบไร้สาระ


ถ้าจะถามว่าอดีตนายก "ทักษิณ" เป็นคนอย่างไร.. ก็ต้องดูว่าผู้พูด "ชอบ" ใส่เสื้อสีอะไร.??

เหรียญยังต้องมี "สองด้าน" เพราะฉะนั้น "คน" ก็ต้องมีสอง "บุคลิก" ฉันใดก็ฉันเพล..

ตราบใดที่ยังไม่หมด "กิเลส" มันก็ต้อง "มี" กันมั่งหละโยม.!!


เทวดายังมีการ "ตกสวรรค์" เมื่อเกิดความ "โกรธ" หรือยาม "เพลิดเพลิน" จนลืม.. เหวย!!

แล้วนับประสาอะไรกับพวก "มนุษย์" ที่ยังต้องกิน ต้องนอน..

จะ "บิน" ไปหารับประทานไข่ปลา "คาร์เวีย" มั่งไม่ได้.!!

สถานการณ์ของ "พระพุทธศาสนา" ณ.ปัจจุบัน ต้องถือว่าอยู่ในขั้น.. วิกฤต.!!!

มีการปล่อยให้ "นักเลงโต" เที่ยวออกมาประท้วง "จาบจ้วง" พระผู้ใหญ่.. 

เดินสาย "ฟ้องร้อง" ไปตาม "โรงพัก" เสมือนหนึ่งรับกิจนิมนต์ฉันเพล..

วันร้ายคืนร้าย.. ก็เที่ยวออกมา "วิพากษ์วิจารณ์" การบ้านการเมือง

หน่วยงานรัฐก็คอย "จองเวร" กับพระกับเจ้าซะเหลือเกิน.. ทั้งๆที่ "หลักฐาน" ก็หาไม่ได้..  แต่ยัง "ออกข่าว" มาว่า "เยอะ" จนต้องใช้เวลาพิจารณา..

ก็ว่ากันไป.. แต่ถ้าจะให้ "ดี" ช่วยไปคลี่คลาย "คดี" ของ "ธวัชชัย อนุกูล" ให้มัน "กระจ่าง" แบบใสใสที..

แล้วค่อยไป "จองกฐิน" กับวัดใหญ่แถวปทุมก็ยังไม่สาย.!!!


นอกจากนั้นยังมี "ภัยมืด" ที่คุกคาม "เงียบๆ" แต่ "ซึมลึก" ลงไปถึง.. รากแก้ว.!

ขยายจาก "แดนใต้" กระจายไปทั่วทุกภูมิภาคแล้ว.!!!

แต่ "ชาวพุทธ" ที่ยังไม่ทราบ เพราะเขาทำกันเป็น "กระบวนการ" ตั้งแต่ระดับจังหวัด.. อำเภอ.. ตำบล.. ไปจนถึงผู้ใหญ่บ้าน

มีงบจาก "รัฐ" คอยสนับสนุนในการ "สร้าง" สถานที่ปฏิบัติกิจทางศาสนา.. รวมถึงการ "จ่าย" ให้ในช่วงเดินทางไปแสวงบุญ


ในขณะที่ฝ่ายหนึ่ง "โตวันโตคืน" เพราะได้น้ำเลี้ยงดี บวกกับมี "ผู้ใหญ่" คอยช่วยเหลือสนับสนุน

สารพัด "โปรโมชั่น" จะจัดให้แบบ.. ลด.. แลก.. แจก.. แถม

หันมามองพุทธแล้วก็ให้ "อนาถใจ" แค่กฎหมายจะขอไปกราบไหว้ "สังเวชนียสถาน" ของพระพุทธเจ้ายังถูกตีตก..

งบ "สนับสนุน" เกี่ยวกับการเรียนการสอน "ศีลธรรม" ก็ถูกตัดจนหมด.. ราวกับต้องการให้ "เด็กๆ" ค่อยๆ "ย้ายค่าย" ก็มิปาน..

เด็กข้างวัด..
ไม่ใช่ปราชญ์ เพียงไม่อาจทนเห็นหลวงปู่หลวงตาทั้งหลาย โดนใส่ร้ายป้ายสี...เกลียดแบบไร้สาระ

ระทึก ไฟไหม้ตลาดบางหลวง มูลนิธิธรรมกาย เร่งช่วยผู้ประสบภัย !!!

เมื่อวันพฤ.ที่ 6 ต.ค 59 คณะสงฆ์ศูนย์อบรมเยาวชนนครปฐม เป็นตัวแทนหมู่คณะ ไปมอบของช่วยผู้ประสบอัคคีภัย ที่ตลาดร้อยปีบางหลวง อ.บางเลน !!!




 และวันนี้ 7 ต.ค. 2559 ได้ประสานงานจากมูลนิธิธรรมกายเอาของไปช่วยอีก 100 ชุด !! 

 ถุงยังชีพจากมูลนิธิธรรมกายถึงมือผู้ประสบภัยชาวบางหลวง อ. บางเลน .



  โดยมีคณะพระอาจารย์ เป็นตัวแทนไปมอบให้ในนามพระเทพญาณมหามุนี (หลวงพ่อธัมมชโย) อนุโมทนาทุกส่วนงาน !!




 ระทึก ไฟไหม้ตลาดบางหลวง ชาวบ้านโกลาหล ต้องอพยพผู้ประสบอัคคีภัยกว่า 900 ชีวิต!! 




 เมื่อวันพุธที่ 5 ตุลาคม 59 เกิดเหตุเพลิงไหม้ขึ้น ที่ตลาดบางหลวง อ. บางเลน ทำให้มีบ้านเรือนประชาชนถูกเผาเสียหายไปกว่า 40 คูหา /โดยทางอำเภอบางเลนได้จัดตั้งศูนย์อพยพชั่วคราว



 ที่ศาลาประชาคม เทศบาลบางหลวง พร้อมจัดเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกให้ครอบครัวผู้ประสบภัยมาลงทะเบียน เพื่อรับความช่วยเหลือต่อไป.



เมื่อเกิดเหตุ หรือเกิดความเดือดร้อนขึ้นในชุมชน  วัดพระธรรมกายและมูลนิธิธรรมกาย ก็มิได้นิ่งนอนใจ เร่งให้ความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ด้วยหัวใจกัลยาณมิตร เช่นนี้ตลอดมา !!!



cr. เพจพระสนิทวงศ์ วุฑฺฒิวํโส